Tuesday, March 25, 2008

บุคคลในปัจจุบัน: Julian Barbour กับฟิสิกส์ที่ไม่มีเวลา

ในขณะที่นิวตันเปรียบเวลาเหมือนดั่งกระแสน้ำที่ไหลด้วยความเร็วคงที่เท่ากันหมดทั่วทุกแห่ง และไอสไตน์กล่าวว่าเราไม่สามารถแยกเวลาออกจากอวกาศ (space-time) Julian Barbour นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษกลับกล่าวว่า "เวลาไม่มีจริง"

เมื่อสมัยที่ Barbour ยังเป็นนักศึกษาอยู่ในประเทศเยอรมัน เขาได้ซื้อนิตยสารที่มีบทความเกี่ยวกับเวลาและอวกาศ เขียนโดยสุดยอกนักฟิสิกส์ Paul Dirac ในขณะที่ Barbour กำลังมุ่งหน้าไปพักผ่อนบนยอดเขาแห่งหนึ่ง แต่เมื่อเขาอ่านบทความดังกล่าวจบ คำถามเกี่ยวกับการมีอยู่ของเวลาได้เกิดขึ้นในหัวของเขา และเขาได้ตัดสินใจวนรถกลับ ยกเลิกการพักผ่อน และเริ่มพัฒนาทฤษฎีของเขาขึ้นทันที

แนวคิดของ Barbour นั้นกล่าวว่า เวลาไม่มีอยู่จริง สิ่งที่เรียกว่าอดีตเป็นเพียงความทรงจำของเราที่อยู่ในรูปของโครงสร้างเซลล์ประสาท อดีตของโลกเราก็เป็นเพียงโครงสร้างที่อยู่ในก้อนหินหรือฟอสซิล ในขณะที่อนาคตเป็นเพียงความเชื่อที่เรามีอยู่เท่านั้น แนวคิดของ Barbour ดูเหมือนจะเป็นความคิดในแง่ของปรัชญาที่เถียงกันได้ไม่รู้จบ แต่สิ่งที่ทำให้งานของเขาแตกต่างไปจากปรัชญาทั่วๆไปก็คือ เขาพิสูจน์สิ่งที่เขาเชื่อด้วยภาษาของคณิตศาตร์และฟิสิกส์ (mathematical physics)

ปัจจุบัน Barbour อาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษ และยังคงมุ่งหน้าพัฒนาแนวคิดของเขาต่อไป

ที่มา เวปไซด์ของ Julian Barbour

Friday, March 21, 2008

ครึ่งชีวิต (half-life) ของกิริยาสามช่อง

กิริยาในภาษาอังกฤษถูกแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ พวกที่ผันได้เวลาใช้ในรูปของช่องที่สองและสาม เช่น eat ate eaten ในขณะีที่อีกพวกใช้เติม -ed เอา เช่น help helped helped

นักคณิตศาสตร์ได้ศึกษาและพบว่า กิริยาที่ผันได้นั้น เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า ผู้คนมักจะเปลี่ยนมาเติม -ed แทน โดยเฉพาะกิริยาที่ไม่ค่อยได้ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยนักคณิตศาสตร์ได้คำนวนครึ่งชีวิตของแต่ละกิริยาที่ผันได้ ซึ่งจะแสดงถึงจำนวนปีของครึ่งเวลาที่กิริยาดังกล่าวจะกลายไปเป็นกิริยาที่เติม -ed แทน

ยกตัวอย่างเช่น กิริยา have (รูปสองคือ had) จะใช้เวลาประมาณ 38,800 ปี ที่ผู้คนจะเปลี่ยนมาใช้ "haved" ในรูปช่องที่สอง ในขณะที่กิริยา hold (ช่องสองคือ held) ซึ่งถูกใช้ในชีวิตประจำวันน้อยกว่า have ประมาณ 10 เท่า จะใช้เวลาประมาณ 5,400 ปี ที่คนจะเปลี่ยนมาพูดว่า holded สำหรับช่องที่สอง

ที่มา นิตยสาร Discover

Wednesday, March 19, 2008

ไว้อาลัยแด่ เซอร์ อาเธอร์ ซี คลาร์ก นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่

เซอร์ อาเธอร์ ซี คลาร์ก (Sir Arthur Charles Clarke) นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ ได้เสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2551 หลังจากเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจมานาน ผลงานของเขาที่เรารู้จักกันดีคือเรื่อง "2001: A Space Odyssey" อาเธอร์ ซี คลาร์ก ยังเป็นผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับระบบดาวเทียมที่เรียกว่า geostationary communications satellite ซึ่งปัจจุบันใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณต่างๆ

ภาพจาก Wikipedia

Sunday, March 16, 2008

Claytronic

ลองจินตนาการถึงดินน้ำมัน ของเล่นของเด็กๆ ที่สามารถปั้นเป็นรูปร่างอะไรก็ได้ตามแต่ใจนึก แต่คราวนี้ มันสามารถก่อรูปร่างได้เอง โดยคำสั่งที่ส่งมาจากคอมพิวเตอร์ และยังสามารถเปลี่ยนสีตามแต่ใจปราราถนา

นักออกแบบผลิตภัณฑ์ สถาปนิก และวิศวะกร สามารถสร้างต้นแบบ (Prototype) ของชิ้นงาน โดยไม่ต้องมานั่ง เหลาไม้ ตัดกระดาษ หรือกึงเหล็กให้เสียเวลา เพียงแค่กดคำสั่งจากคอมพิวเตอร์ เท่านั้น หรือจะใช้มือเราไปช่วยปรับรายละเอียดทีหลังก็ยังได้

นึกถึงการประชุมข้ามประเทศ โดยที่ไม่ใช่แค่ ได้ยินเสียง และเห็นหน้า แต่สามารถเห็นคนเป็นรูปร่าง สามมิติที่สัมผัสได้

คุณสมบัติเหล่านี้ เป็นความสามารถของ ดิน ที่ถูกเรียกว่า Claytronics (อ่านว่า เครย-โทร-นิกส์) ซึ่งถ้าจะให้แปลเป็นภาษาไทยอย่างตรงๆ ก็คงแปลว่า “ดินน้ำมันไฟฟ้า” หรือ “ดินอิเล็กทรอนิกค์”

ปัจจุบัน Claytronics ยังเป็นแค่ความคิดเท่านั้นครับ แต่มหาวิทยาลัย คาร์นิกี เมลลอน (Carnegie Mellon University) ได้ร่วมมือกับ Intel เพื่อทำวิจัยและพัฒนา Claytronics ซึ่งถูกเรียกว่า “Claytronics Project”

Claytronics Project มีเป้าหมายเพื่อที่จะทำให้ข้อมูลดิจิตอล ปรากฏรูปร่างมาในโลกแห่งสามมิติ (3-D) ซึ่งต้องพัฒนาเทคโนโลยีสาขาต่างๆเข้าด้วยกันตั้งแต่ modular robotics, systems nanotechnology และ computer science

ก็คงต้องติดตามกันต่อไปครับว่าโครงการนี้จะสามารถทำฝันให้เป็นจริงได้เมื่อไหร่


วีดิโอแสดงตัวอย่างการทำงานของ Claytronics ในอนาคต ซึ่งถูกสร้างสรรค์โดย นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย คาร์นิกี เมลลอน

อ้างอิงจาก
http://www.cs.cmu.edu/~claytronics/index.html

Biodegradable mobile phone

Biodegradable mobile phone หรือ โทรศัพท์มือถือที่สามารถถูกย่อยสลายได้ในกระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติ

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัสดุ(Materials expert) จากมหาวิทยาลัย วอร์ริก (Warwick University) ได้ ประดิษฐ์ กรอบของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งสามารถถูกย่อยสลายได้ในหนึ่งสัปดาห์ และกลายเป็นดอกไม้ภายหลัง

นักวิจัยได้ออกแบบให้ เมล็ดพันธุ์พืชถูกบรรจุไว้ในช่องโปร่งแสงบนกรอบมือถือ โดยที่ให้นักพฤกษศาสตร์ทางด้านพืชสวน (Horticulturist) ได้ทดสอบหาพันธุ์พืชที่เหมาะสมที่สุด [ในการเจริญหลังจากมือถือย่อยสลายแล้ว – by Drakong]


ต้นแบบ (Prototype) ของโทรศัพท์มือถือนี้ พบว่า ดอกทานตะวันแคระ (Dwarf sunflower) เป็นพันธุ์พืชที่เหมาะสม

ผลิตภัณฑ์นี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง บริษัทเทคโนโลยีทางด้านวัสดุ - PVAXX Research & Development Ltd of Cheltenham – กับ บริษัทเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร - Motorola


ที่มา BBC

Friday, March 7, 2008

ภาพจากแลป: โลกและดวงจันทร์ ถ่ายจากดาวอังคาร

โลกและดวงจันทร์ ภาพถ่ายจาก HiRISE camera บนดาวเทียวที่โคจรรอบดาวอังคาร
ภาพจาก NASA

Wednesday, March 5, 2008

ทดลองสาเหตุของรถติด "Backward travelling wave"



จากข่าวเก่าที่นักคณิตศาสตร์ได้นำเสนอแบบจำลองที่อธิบายสาเหตุของรถติด (อ่านข่าวเก่า คลิก) ที่เรียกว่า Backward travelling wave โดยหลักการคือ ทุกครั้งที่คุณหรือใครก็ตามเหยียบเบรก หรือชะลอความเร็ว จะส่งผลให้รถคันหลังคุณเบรกหรือชะลอความเร็วไปด้วย และผลดังกล่าวก็จะส่งต่อเป็นทอดๆไปจนถึงรถคันที่อยู่หลังคุณหลายกิโลเมตร

นักวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นได้ทดสอบแนวคิดดังกล่าวและแสดงให้เห็นว่าเกิดขึ้นจริง โดยในการทดลองนี้ใช้รถ 22 คัน ให้คนขับวิ่งเป็นวงกลม โดยให้คนขับแต่ละคนพยายามบังคับรถที่ความเร็วคงที่ ที่ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การทดลองแสดงให้เห็นว่า เมื่อคนขับคนใดคนหนึ่งเริ่มขับด้วยความเร็วที่คลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อยจาก 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะส่งผลกระทบต่อรถคันหลังๆ และก่อให้เกิดรถติดขึ้นมาในที่สุด

Tuesday, March 4, 2008

ปัญหาทางคณิตศาสตร์อายุ 140 ปี ถูกแก้แล้ว

Schwarz-Christoffel formula เป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ในสาขา complex analysis ที่ใช้ในการแปลงรูปทรงเรขาคณิตให้อยู่ในรูปของวงกลมเืพื่อความง่ายในการศึกษา ทฤษฎีนี้ถูกประยุกต์ใช้งานในหลายสาขา ยกตัวอย่างเช่น การสร้างภาพจำลองของสมองที่มีความซับซ้อน อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีดังกล่าวยังมีข้อจำกัด เนื่องจากไม่สามารถใช้กับรูปทรงที่มีรู หรือรูปทรงที่ซับซ้อนมากได้

ล่าสุดนักคณิตศาสตร์จาก Imperial College London ได้แก้ปัญหาที่ไม่มีใครแก้ได้มา 140 ปีนี้จนสำเร็จแล้ว โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีที่เรียกว่า Schottky Groups เพิ่มเข้าไปยังสูตรดั้งเดิมของ Schwarz-Christoffle formula จนได้สูตรใหม่ที่สามารถประยุกต์ใช้กับรูปทรงใดๆ ก็ได้

โปรเฟสเซอร์ Darren Crowdy เจ้าของผลงาน กล่าวว่าเขาได้ฟังปัญหานี้ขณะฟังการบรรยายอยู่ในปารีส แล้วก็เกิดอาการปิ๊งแว่บถึงวิธีการแก้ปัญหาขึ้นมาทันที เขาจึงลุกออกจากห้อง และเริ่มลงมือแก้ปัญหาดังกล่าว จนประสบความสำเร็จในที่สุด

ที่มา
Timesonline
EurekAlerts

Saturday, March 1, 2008

ชิ้นส่วนสุดท้ายของ Atlas Experiment ถูกประกอบแล้ว


จากข่าวเก่าที่นำเสนอการทดลองระดับโลกที่จะไขความลับของจักรวาล Atlas Experiment (อ่านข่าวเก่า คลิก) โครงการดังกล่าวมีความเคลื่อนไหวเพิ่มเติม เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (29 กุมภาพันธ์ เวลาของสวิตเซอร์แลนด์) ทีมนักวิจัยได้ประกอบชิ้นส่วนสุดท้ายในส่วนของเครื่องตรวจจับอนุภาค ซึ่งทำให้เครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเครื่องนี้เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยนักวิจัยจะเริ่มทดสอบระบบในเร็วๆนี้ ก่อนที่จะเริ่มทำการทดลองจริงประมาณกลางปีนี้ ซึ่งทางเราจะนำความคืบหน้ามานำเสนอต่อไป

ที่มา/ภาพ Atlas Experiment

TRIM22 ยีนต่อสู้ไวรัส HIV

Stephen Barr นักวิจัยจาก University of Alberta ค้นพบยีนที่ถูกเรียกว่า TRIM22 ซึ่งเป็นยีนปกติที่พบในมนุษย์ มีความสามารถในการป้องกันการพัฒนาของไวรัสเอดส์ในเซลล์เพาะเลี้ยง
ซึ่งหมายถึงว่า ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนและแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่นๆ ได้ การค้นพบครั้งนี้เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น เนื่องจากแสดงให้เห็นว่า เซลล์มนุษย์มียีนธรรมชาติที่สามารถป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสได้ การค้นพบนี้เมื่อรวมเข้ากับการใช้วัคซีนอาจจะสามารถใช้รักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ได้

ที่มา Physorg.com

สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม รับนักศึกษาประจำปี 2551

สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาัลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เปิดรับสมัครนักศึกษาใน
1. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการหุ่นยนต์เเละระบบอัตโนมัติ(FRA)
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาความสามารถทางการเเข่งขันเชิงอุตสาหกรรม(GDIC)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่