ลองจินตนาการถึงดินน้ำมัน ของเล่นของเด็กๆ ที่สามารถปั้นเป็นรูปร่างอะไรก็ได้ตามแต่ใจนึก แต่คราวนี้ มันสามารถก่อรูปร่างได้เอง โดยคำสั่งที่ส่งมาจากคอมพิวเตอร์ และยังสามารถเปลี่ยนสีตามแต่ใจปราราถนา
นักออกแบบผลิตภัณฑ์ สถาปนิก และวิศวะกร สามารถสร้างต้นแบบ (Prototype) ของชิ้นงาน โดยไม่ต้องมานั่ง เหลาไม้ ตัดกระดาษ หรือกึงเหล็กให้เสียเวลา เพียงแค่กดคำสั่งจากคอมพิวเตอร์ เท่านั้น หรือจะใช้มือเราไปช่วยปรับรายละเอียดทีหลังก็ยังได้
นึกถึงการประชุมข้ามประเทศ โดยที่ไม่ใช่แค่ ได้ยินเสียง และเห็นหน้า แต่สามารถเห็นคนเป็นรูปร่าง สามมิติที่สัมผัสได้
คุณสมบัติเหล่านี้ เป็นความสามารถของ ดิน ที่ถูกเรียกว่า Claytronics (อ่านว่า เครย-โทร-นิกส์) ซึ่งถ้าจะให้แปลเป็นภาษาไทยอย่างตรงๆ ก็คงแปลว่า “ดินน้ำมันไฟฟ้า” หรือ “ดินอิเล็กทรอนิกค์”
ปัจจุบัน Claytronics ยังเป็นแค่ความคิดเท่านั้นครับ แต่มหาวิทยาลัย คาร์นิกี เมลลอน (Carnegie Mellon University) ได้ร่วมมือกับ Intel เพื่อทำวิจัยและพัฒนา Claytronics ซึ่งถูกเรียกว่า “Claytronics Project”
Claytronics Project มีเป้าหมายเพื่อที่จะทำให้ข้อมูลดิจิตอล ปรากฏรูปร่างมาในโลกแห่งสามมิติ (3-D) ซึ่งต้องพัฒนาเทคโนโลยีสาขาต่างๆเข้าด้วยกันตั้งแต่ modular robotics, systems nanotechnology และ computer science
ก็คงต้องติดตามกันต่อไปครับว่าโครงการนี้จะสามารถทำฝันให้เป็นจริงได้เมื่อไหร่
วีดิโอแสดงตัวอย่างการทำงานของ Claytronics ในอนาคต ซึ่งถูกสร้างสรรค์โดย นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย คาร์นิกี เมลลอน
อ้างอิงจาก
http://www.cs.cmu.edu/~claytronics/index.html
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment