การชนของอุกกาบาตและภูเขาไฟระเบิดมักถูกใช้อธิบายการลดลงอย่างรวดเร็วของจำนวนไดโนเสาร์
จนนำมาซึ่งการสูญพันธุ์ อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวไม่สามารถอธิบายการลดลงของจำนวนไดโนเสาร์อย่างช้าๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่เรียกว่า "K-T boundary" ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างยุค Cretaceous และ Tertiary
คู่สามีภรรยา George และ Roberta Poinar ได้เสนอแนวคิดที่แตกต่างออกไปในหนังสือเล่มใหม่ของพวกเขา “What Bugged the Dinosaurs? Insects, Disease and Death in the Cretaceous” โดยการศึกษาฟอสซิลแมลงที่พบในยางไม้ พวกเขาแนะนำว่าแมลงเหล่านี้เคยมีอิทธิพลสำคัญในยุค Cretaceous และแมลงกินเลือดเหล่านี้อาจจะเป็นพาหะนำโรคสำคัญต่างๆ ในหมู่ไดโนเสาร์และเป็นอีกตัวการหนึ่งที่ทำให้จำนวนประชากรไดโนเสาร์ลดลง ซึ่งเมื่อควบคู่กับสาเหตุอื่นๆ เป็นผลทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ในที่สุด
ที่มา PhysOrg.com
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment