Monday, December 31, 2007
วีดีโอ Mandelbrot Set
ผลงานวีดีโอ Mandelbrot Set ชิ้นนี้ทำขึ้นโดยนักเรียนทุนรัฐบาลไทย ซึ่งศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัย Cornell ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้เพลง Mandelbrot Set ของ Jonathan Coulton เป็นเพลงประกอบ
ที่มา เวปไซด์สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในสหรัฐอเมริกา
ที่มา เวปไซด์มหาวิทยาลัย Cornell
Saturday, December 29, 2007
หุ่นยนต์วาดภาพเหมือน
หุ่นยนต์วาดภาพเหมือน ผลงานจาก Learning Algorithms and Systems Laboratory (LASA) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เจ้าหุ่นยนต์จะจับภาพ snapshot ของนายแบบหรือนางแบบ แล้วจึงจับปากกาเพื่อวาดโครงหน้าก่อน แล้วจึงเติมรายละเอียดของใบหน้าทีหลัง โดยอัลกอริทึ่มที่ใช้กับหุ่นยนต์ตัวนี้ได้แก่ face detection และ image reconstruction เพื่อจดจำและสร้างภาพของผู้เป็นแบบ และ trajectory planing เพื่อควบคุมแขนกลให้วาดภาพเหมือนตามแบบ อยากเห็นแบบเต็มๆว่าภาพที่วาดจะเหมือนขนาดไหนแวะไปดูได้ที่เวปไซด์ของกลุ่มวิจัย คลิกที่นี่
ที่มา Learning Algorithms and Systems Laboratory (LASA)
Wednesday, December 26, 2007
ภาพจากแลป: กระรอกเลียนกลิ่นงู
นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนีย (University of California, Davis) ประเทศสหรัฐอเมริกาศึกษาพบพฤติกรรมของกระรอกที่เอาคราบของงู มาถูตัวให้กลิ่นของงูติดตัวเพื่อทำให้ผู้ล่าหรืองูตัวอื่นเข้าใจผิดและไม่โจมตีกระรอก
ภาพจาก National Geographic
Friday, December 21, 2007
ข้อความที่เราส่งไปหามนุษย์ต่างดาวมันน่าเบื่อเกินไป
YVAN DUTIL และ STEPHANE DUMAS สองนักดาราศาสตร์ชาวแคนนาดา ออกมาแนะนำว่า ข้อความที่นักวิทยาศาสตร์ส่งออกไปในจักรวาลด้วยคลื่นวิทยุ เพื่อพยายามสื่อสารกับมนุษย์ต่างดาว นั้นอาจจะน่าเบื่อเกินกว่าที่มนุษย์ต่างดาวจะตอบกลับ ข้อความที่มนุษย์ส่งออกไปมักจะพยายามแสดงถึงสติปัญญาของพวกเรา เช่น ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ใส่โค้ดไว้ หรือความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อื่นๆ รวมไปถึงประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ข้อความเหล่านี้สองนักดาราศาสตร์ประจำโครงการตามหามนุษย์ต่างดาวหรือ SETI (Search for Extra-Terrestrial Intelligence) มองว่าอาจจะเป็นแค่สแปมสำหรับมนุษย์ต่างดาวที่มีสติปัญญาสูงกว่ามนุษย์ โดยทั้งสองยังแนะนำต่อไปว่า ข้อความที่น่าจะเป็นที่สนใจสำหรับเอเลี่ยนน่าจะเป็นเรื่องปัญหาทางสังคม การเมือง หรือเศรษฐกิจของชาวโลกมากกว่า
ที่มา GIZMODO
ฆ่ามะเร็งด้วยคลื่นความถี่วิทยุจากท่อนาโน
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาท่อนาโนที่มีขนาดเล็กจิ๋ว ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวเหนี่ยวนำคลื่นความถี่วิทยุเพื่อสร้างความร้้อนและฆ่าเซลล์ในบริเวณรอบข้าง การปราบมะเร็งด้วยคลื่นความถี่วิทยุนั้นถูกใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งมานานแล้ว แต่ใช้เข็มเป็นตัวเหนี่ยวนำคลื่นวิทยุ จึงมักมีปัญหาเรื่องรัศมีการทำลายกระจายวงกว้างและฆ่าเซลล์ดีด้วย การใช้ท่อนาโนเป็นตัวเหนี่ยวนำแทน ทำให้นักวิจัยสามารถฉีดท่อขนาดเล็กนี้ไปยังบริเวณเซลล์มะเร็งและกำจัดเซลล์มะเร็งได้
โดยส่งผลกระทบเซลล์รอบข้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ล่าสุดทีมนักวิจัยประสบความสำเร็จในการใช้ท่อนาโนดังกล่าวกำจัดมะเร็งในตับของกระต่าย ในขั้นต่อไปทีมวิจัยพยายามที่จำกัดรัศมีการทำลายให้แคบลงมาอีก และหาวิธีที่จะส่งเจ้าท่อนี้ไปยังบริเวณของเซลล์มะเร็งให้แม่นยำยิ่งขึ้น โดยคาดว่าอีกไม่นานเทคนิคนี้จะสามารถนำมาใช้รักษาในคนได้จริง
ที่มา The Future of Things
โดยส่งผลกระทบเซลล์รอบข้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ล่าสุดทีมนักวิจัยประสบความสำเร็จในการใช้ท่อนาโนดังกล่าวกำจัดมะเร็งในตับของกระต่าย ในขั้นต่อไปทีมวิจัยพยายามที่จำกัดรัศมีการทำลายให้แคบลงมาอีก และหาวิธีที่จะส่งเจ้าท่อนี้ไปยังบริเวณของเซลล์มะเร็งให้แม่นยำยิ่งขึ้น โดยคาดว่าอีกไม่นานเทคนิคนี้จะสามารถนำมาใช้รักษาในคนได้จริง
ที่มา The Future of Things
ภาพจากแลป: บรรพบุรุษวาฬ?
กระดูกฟอสซิลของ Indohyus สัตว์ที่มีลักษณะคล้ายกวาง ซึ่งถูกเชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของวาฬหรือที่ชาวบ้านเรียกปลาวาฬ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เคยอาศัยบนแผ่นดินก่อนวิวัฒนาการไปเป็นสัตว์ทะเล
ภาพจาก National Geographic
ภาพจาก National Geographic
Wednesday, December 19, 2007
นักคณิตศาสตร์ค้นพบสาเหตุของการจราจรติดขัด
เคยมั้ยใช้เวลายี่สิบนาที ขับรถจากหน้าปากซอยไปได้แค่สองไฟแดง ทั้งๆที่ ฝนไม่ตก ไม่มีอุบัติเหตุ ไฟเขียวแต่ทำไมรถไม่เขยื้อน (ว่ะ) ล่าสุดนักคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Exeter ประเทศอังกฤษมีทฤษฏีใหม่
จากการศึกษาโมเดลทางคณิตศาสตร์ทำให้นักวิจัยค้นพบสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า 'backward travelling wave' (ไม่ขอแปลละกันครับ) โดยหลักการคือ ทุกครั้งที่คุณหรือใครก็ตามเหยียบเบรก หรือชะลอความเร็ว จะส่งผลให้รถคันหลังคุณเบรกหรือชะลอความเร็วไปด้วย และผลดังกล่าวก็จะส่งต่อเป็นทอดๆไปจนถึงรถคันที่อยู่หลังคุณหนึ่งกิโลเมตร ใช่แล้วครับคุณแตะเบรกเพียงนิดเดียว อาจทำให้รถคันหลังคุณหนึ่งกิโลเมตรต้องเหยียบเบรกเลยก็ได้
โมเดลดังกล่าวช่วยอธิบายว่าทำไมรถติดโดยไม่มีสาเหตุบนถนนที่มีรถค่อนข้างมาก
ทีมนักวิจัยยังอธิบายต่อว่าคนขับรถมักจะมีการตอบสนองที่ช้า ทำให้เกิดการชะลอหรือเบรกโดยไม่จำเป็นบ่อยครั้ง และการแตะเบรกของคนข้างหน้าคุณหลายกิโล อาจทำให้คุณที่ขับตามมาต้องเจอรถติดในอีกสิบนาทีถัดมาหลังจากการแตะเบรกนั้นเกิดขึ้น
ที่มา Physorg.com
จากการศึกษาโมเดลทางคณิตศาสตร์ทำให้นักวิจัยค้นพบสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า 'backward travelling wave' (ไม่ขอแปลละกันครับ) โดยหลักการคือ ทุกครั้งที่คุณหรือใครก็ตามเหยียบเบรก หรือชะลอความเร็ว จะส่งผลให้รถคันหลังคุณเบรกหรือชะลอความเร็วไปด้วย และผลดังกล่าวก็จะส่งต่อเป็นทอดๆไปจนถึงรถคันที่อยู่หลังคุณหนึ่งกิโลเมตร ใช่แล้วครับคุณแตะเบรกเพียงนิดเดียว อาจทำให้รถคันหลังคุณหนึ่งกิโลเมตรต้องเหยียบเบรกเลยก็ได้
โมเดลดังกล่าวช่วยอธิบายว่าทำไมรถติดโดยไม่มีสาเหตุบนถนนที่มีรถค่อนข้างมาก
ทีมนักวิจัยยังอธิบายต่อว่าคนขับรถมักจะมีการตอบสนองที่ช้า ทำให้เกิดการชะลอหรือเบรกโดยไม่จำเป็นบ่อยครั้ง และการแตะเบรกของคนข้างหน้าคุณหลายกิโล อาจทำให้คุณที่ขับตามมาต้องเจอรถติดในอีกสิบนาทีถัดมาหลังจากการแตะเบรกนั้นเกิดขึ้น
ที่มา Physorg.com
Tuesday, December 18, 2007
ความหวังในการสร้างเส้นเลือดใหม่จากเซลล์
ทีมนักวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเซลล์ให้เรียงตัวเป็นโครงสร้างคล้ายหลอดเลือด โดยเริ่มจากการสร้างพื้นผิวที่มีลักษณะเป็นท่อยาวขนาดเล็กระดับนาโนเมตร แล้วจึงเพาะเลี้ยงเซลล์บนพื้นผิวดังกล่าว ก่อนจะเหนี่ยวนำให้เซลล์เรียงตัวในสามมิติในลักษณะของเลือดหลอด
ในขั้นต่อไปทีมนักวิจัยพยายามที่จะเพาะเลี้ยงหลอดเลือดดังกล่าวเข้าไปในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตและดูว่าจะ
สามารถทำงานได้ปกติหรือไม่ หากสำเร็จ ก็จะเป็นอีกขั้นที่นำไปสู่การสร้างหลอดเลือดขึ้นมาใหม่เพื่อรักษาโรคต่างๆ เช่นโรคไต โรคตับหรือแม้กระทั่งโรคหัวใจ
ที่มา Phyorg.com
ในขั้นต่อไปทีมนักวิจัยพยายามที่จะเพาะเลี้ยงหลอดเลือดดังกล่าวเข้าไปในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตและดูว่าจะ
สามารถทำงานได้ปกติหรือไม่ หากสำเร็จ ก็จะเป็นอีกขั้นที่นำไปสู่การสร้างหลอดเลือดขึ้นมาใหม่เพื่อรักษาโรคต่างๆ เช่นโรคไต โรคตับหรือแม้กระทั่งโรคหัวใจ
ที่มา Phyorg.com
เดวิด กรอส (David J. Gross) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล จะมาบรรยายที่เมืองไทย
เดวิด กรอส (David J. Gross) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล ปี 2547 จะมาบรรยายพิเศษในโครงการ "สานสัมพันธ์สู่สันติวัฒนธรรม" วันจันทร์ที่ 7 มกราคม 2551 เวลา 14:00 น. ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ
ข้อมูลเพิ่มเติมและรับบัตรฟรี ติดต่อ โทร. (02) 201 5007 โทรสาร (02) 201 5072 อีเมล์ scblw@mahidol.ac.th
ลิงค์ www.peace-foundation.net
ที่มา เมเนเจอร์ออนไลน์
ข้อมูลเพิ่มเติมและรับบัตรฟรี ติดต่อ โทร. (02) 201 5007 โทรสาร (02) 201 5072 อีเมล์ scblw@mahidol.ac.th
ลิงค์ www.peace-foundation.net
ที่มา เมเนเจอร์ออนไลน์
Monday, December 17, 2007
โตโยต้ามาแหวกแนว เริ่มโครงการศึกษาสมอง
บริษัทรถยนต์ชื่อดัง โตโยต้า ได้ออกมาแถลงการณ์ว่าจะร่วมกับ Institute of Physical and Chemical Research (RIKEN) ประเทศญี่ปุ่น เพื่อตั้งทีมวิจัยศึกษาการทำงานของสมอง โดยส่วนหนึ่งในโครงการที่วางแผนไว้ 20 ปีนี้ จะเป็นการศึกษาการควบคุมยานพาหนะ หรือหุ่นยนต์ด้วยสมองของมนุษย์!!!
โตโยต้าได้มองว่าการควบคุมการทำงานของรถยนต์ด้วยจิตที่พวกเขากำลังจะพัฒนาขึ้นนี้จะสามารถลดอุบัติเหต
ุทางรถยนต์ลงได้ (บนความเชื่อที่ว่าการตอบสนองทางจิตรวดเร็วและแม่นยำกว่าการตอบสนองทางร่างกาย
แต่อย่าเมาแล้วขับนะครับ) และจะเป็นต้นแบบของรถยนต์ในอนาคต นอกจากนี้โตโยต้ายังคาดการณ์ว่าธุรกิจหุ่นยนต์จะเป็นธุรกิจหลักอีกอันของบริษัทในอนาคตอีกด้วย
ที่มา Pink Tentacle
โตโยต้าได้มองว่าการควบคุมการทำงานของรถยนต์ด้วยจิตที่พวกเขากำลังจะพัฒนาขึ้นนี้จะสามารถลดอุบัติเหต
ุทางรถยนต์ลงได้ (บนความเชื่อที่ว่าการตอบสนองทางจิตรวดเร็วและแม่นยำกว่าการตอบสนองทางร่างกาย
แต่อย่าเมาแล้วขับนะครับ) และจะเป็นต้นแบบของรถยนต์ในอนาคต นอกจากนี้โตโยต้ายังคาดการณ์ว่าธุรกิจหุ่นยนต์จะเป็นธุรกิจหลักอีกอันของบริษัทในอนาคตอีกด้วย
ที่มา Pink Tentacle
Sunday, December 16, 2007
เก้าอี้อัจฉริยะ
โครงงาน Take_a_seat เป็นโปรเจคจาก Design Academy Eindhoven แสดงถึงคอนเซปการใช้งานของเก้าอี้ในห้องสมุด ที่จะติดตามเราไปทุกที่ และพร้อมให้เรานั่งทันทีเมื่อเราต้องการ
Thursday, December 13, 2007
เกาหลีใต้โคลนแมวเรืองแสง
นักวิจัยจากเกาหลีใต้ประสบความสำเร็จในการโคลนแมวที่มียีนเรืองแสง ซึ่งทำให้แมวโคลนเหล่านี้เรืองแสงภายใต้ลำแสงอุลตร้าไวเลต โดยเทคนิคการโคลนแมวที่มียีนจำเพาะนี้ อาจสามารถนำไปใช้เพื่อโคลนสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่เป็นโรคทางพันธุกรรมอันเกิดจากยีนใดยีนหนึ่ง เพื่อผลิตสัตว์ที่มีความผิดปกตินี้ออกมาใช้ในการศึกษาโรคดังกล่าว
ที่มา Physorg.com
ที่มา Physorg.com
Tuesday, December 11, 2007
Laws of chance ผลงานของ Jean Arp
ภาพจาก The Museum of Modern Art นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาพการจัดเรียงของรูปทรงสี่เหลี่ยมในผลงานศิลปะชื่อ Collage with Squares Arranged According to the Laws of Chance ของ Jean Arp ชิ้นนี้ไม่ได้เกิดจากการออกแบบของตัวศิลปิน แต่รูปแบบการจัดวางเกิดจากการที่ศิลปินฉีกกระดาษ และปล่อยแผ่นกระดาษลงบนผืนกระดาษใหญ่อีกแผ่นที่วางไว้บนพื้น หลังจากนั้นจึงค่อยจัดเรียงองค์ประกอบของแผ่นกระดาษ โดยยึดตำแหน่งที่กระดาษตกลงมาเป็นหลัก
Jean Arp อ้างว่า ผลงานในลักษณะนี้อยู่นอกเหนือจากฝีมือของมนุษย์และเป็นผลงานที่เกิดจากธรรมชาติหรือที่เขาเรียกว่า Laws of chance
Jean Arp อ้างว่า ผลงานในลักษณะนี้อยู่นอกเหนือจากฝีมือของมนุษย์และเป็นผลงานที่เกิดจากธรรมชาติหรือที่เขาเรียกว่า Laws of chance
หุ่นยนต์แสดงสีหน้า
ผลงานหุ่นยนต์แสดงสีหน้าชิ้นนี้ เป็นผลงานจาก Takanishi Laboratory มหาวิทยาลัย Waseda ประเทศญี่ปุ่น การเปลี่ยนแปลงสีหน้าของหุ่นยนต์ควบคุมโดยการเปลี่ยนจุดควบคุมที่มีถึง 27 จุด ทั่วใบหน้า ทีมนักวิจัยได้ทดสอบเปรียบเทียบการแสดงออกทางสีหน้าของหุ่นยนต์กับสีหน้าต้นแบบของมนุษย์ และประเมินความแตกต่าง โดยหุ่นยนต์รุ่นล่าสุดของพวกเขาแสดงความแตกต่างเฉลี่ยในแต่ละจุดเพียงแค่ 3.5 มิลลิเมตรเท่านั้น
ที่มา Takanishi Lab
Monday, December 10, 2007
หยุดรถด้วยรังสีไมโครเวฟ
Eureka Aerospace บริษัทวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ได้พัฒนาระบบที่ใช้คลื่นไมโครเวฟยิงตรงไปที่รถยนต์เพื่อหยุดการทำงานของเครื่องยนต์ในทันที โดยรุ่นต้นแบบสามารถจำกัดไปที่รถเป้าหมายที่อยู่ไกลออกไป 50 ฟุต ระบบดังกล่าวคาดว่าจะถูกพัฒนาขึ้นมาให้ตำรวจใช้ในการหยุดรถของคนร้าย หรือ คนเมาที่พยายามขับรถหนีตำรวจ ต่อไปการขับรถไล่กันแบบที่เห็นกันบ่อยๆในหนังฮอลลีวู้ดจะได้หมดไปเสียที
ที่มี Technabob
ที่มี Technabob
Sunday, December 9, 2007
I think, therefore I am
"บ่ายวันอาทิตย์มันน่าเบื่อจิงๆ"
"แถมมีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นกับเรานะ"
"ทำไมหูชอบฝาด"
เสร็จสิ้น
"เฮ้อ ได้ยินอีกละ"
"สงสัยจะทำงานหนักไปรึเปล่านะ เย็นนี้กินอะไรดีหว่า"
"อยากกินเบียร์วุ๊ย"
ยกเลิกการทำงาน
ปิดตัวเองในเวลา 2 วินาที
"ไม่ไหวแล้ว สงสัยต้องไปหาหมอซะหน่อยแล..................."
นักวิจัยโครงการสมองเทียมแห่งสถาบันพัฒนาชีวิตจำลองและหุ่นยนต์ สั่งหยุดการทำงานของวงจรเซลล์สมองเทียม
แล้วทุกอย่างก็กลายเป็นเพียงความว่างเปล่า
"I think, therefore I a........."
"แถมมีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นกับเรานะ"
"ทำไมหูชอบฝาด"
เสร็จสิ้น
"เฮ้อ ได้ยินอีกละ"
"สงสัยจะทำงานหนักไปรึเปล่านะ เย็นนี้กินอะไรดีหว่า"
"อยากกินเบียร์วุ๊ย"
ยกเลิกการทำงาน
ปิดตัวเองในเวลา 2 วินาที
"ไม่ไหวแล้ว สงสัยต้องไปหาหมอซะหน่อยแล..................."
นักวิจัยโครงการสมองเทียมแห่งสถาบันพัฒนาชีวิตจำลองและหุ่นยนต์ สั่งหยุดการทำงานของวงจรเซลล์สมองเทียม
แล้วทุกอย่างก็กลายเป็นเพียงความว่างเปล่า
"I think, therefore I a........."
ผู้จัดการออนไลน์เปิดให้โหวตสุดยอดคนวิทยาศาสตร์ไทยแห่งปี
เวปไซด์ผู้จัดการออนไลน์ (Manager Online) ได้เปิดให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมในการจัดอันดับสุดยอดคนในวงการวิทยาศาสตร์ของไทย โดยมีให้เลือก 10 ตัวเลือก ตั้งแต่ ศ.ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคนปัจจุบัน ไปจนถึงสามนักเรียนเตรียมอุดมศึกษาที่ชนะเลิศการประกวดโครงงานของ Intel International Science and Engineering ปี 2007 โดยมีของรางวัลวิทยาศาสตร์มอบให้ผู้โชคดีด้วย สนใจร่วมโหวตได้ที่ ผู้จัดการออนไลน์ คลิกที่นี่ (ผู้จะโหวตต้องสมัครสมาชิกกับทางเวปไซด์ และล็อกอินก่อน)
หมดเขตโหวต 25 ธ.ค. 2550
ที่มา ผู้จัดการออนไลน์
หมดเขตโหวต 25 ธ.ค. 2550
ที่มา ผู้จัดการออนไลน์
Thursday, December 6, 2007
หุ่นยนต์เล่นไวโอลิน
โตยาต้า เปิดตัวหุ่นยนต์เล่นไวโอลินรุ่นล่าสุด ซึ่งมีส่วนข้อต่อแขนและนิ้ว ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ถึง 17 ส่วน ทำให้เจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้สามารถเล่นไวโอลินได้เพราะไม่ต่างไปจากมนุษย์ (ชมวีดีโอจากยูทูป) นอกจากนี้ในวีดีโอยังได้มีการสาธิตการทำงานของหุ่นยนต์วีลแชร์สำหรับผู้พิการทางขาอีกด้วย
ที่มา Pink Tentacle
Monday, December 3, 2007
ตรวจจับมะเร็ง โดยเครื่องมือที่สร้างโดย Nanotechnology
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า เซลล์มะเร็งมีความอ่อนนุ่มมากกว่าเซลล์ปกติของมนุษย์ ซึ่งการค้นพบนี้ส่งผลให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งได้ง่ายขึ้น
โดยที่นักวิจัยได้ใช้ เครื่องมือที่สร้างโดยนาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology deviced) เรียกว่า Atomic Force Microscope ช่วยในการตรวจหาเซลล์มะเร็ง เครื่องมือนี้จะมีปลายแหลมเล็กติดกับสปริง ซึ่งปลายแหลมนี้จะไปกดกับเซลล์ เพื่อวัดความอ่อน หรือแข็งของเซลล์
นักวิทยาศาสตร์อ้างว่าเทคโนโลยีนี้จะช่วยในการตรวจหามะเร็งที่ตรวจจับได้ยาก เช่น มะเร็งในตับอ่อน หรือ มะเร็งในปอด ซึ่งจะส่งผลให้รักษามะเร็งได้ทันท่วงที ก่อนที่มะเร็งจะลุกลาม
ที่มา http://www.reuters.com/
โดยที่นักวิจัยได้ใช้ เครื่องมือที่สร้างโดยนาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology deviced) เรียกว่า Atomic Force Microscope ช่วยในการตรวจหาเซลล์มะเร็ง เครื่องมือนี้จะมีปลายแหลมเล็กติดกับสปริง ซึ่งปลายแหลมนี้จะไปกดกับเซลล์ เพื่อวัดความอ่อน หรือแข็งของเซลล์
นักวิทยาศาสตร์อ้างว่าเทคโนโลยีนี้จะช่วยในการตรวจหามะเร็งที่ตรวจจับได้ยาก เช่น มะเร็งในตับอ่อน หรือ มะเร็งในปอด ซึ่งจะส่งผลให้รักษามะเร็งได้ทันท่วงที ก่อนที่มะเร็งจะลุกลาม
ที่มา http://www.reuters.com/
ลิงจำภาพที่เกิดขึ้นชั่วขณะได้ดีกว่ามนุษย์
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ได้ทดสอบให้ ลิิงชิมแปมซี (สิ่งมีชีวิตที่ถูกเชื่อว่าฉลาดที่สุดรองจากมนุษย์) อายุ 7 ขวบ ชื่อว่า Ayumu เล่นเกมจำตัวเลขบนจอคอมพิวเตอร์ โดยตัวเลข 1-9 จะปรากฏขึ้นบนจอเพียงชั่วอึดใจ แล้วถูกบังไว้ด้วยสี่เหลี่ยมทึบ (ดูวีดีโอสาธิตจาก nature.com คลิกที่นี่) ลิงก็จะเริ่มจิ้มที่สี่เหลี่ยมทึบตามลำดับตัวเลขที่ปรากฏก่อนหน้านี้ ผลปรากฏว่า เมื่อให้คนแข่งกับลิง ลิงชนะครับ (ดูวีดีโอแล้วจะอึ้ง)
อย่างไรก็ตาม ผลการทดลองดังกล่าว ไม่ได้แปลว่า ลิงฉลาดกว่าคน แต่อาจเป็นเพราะ ความสามารถในการจำภาพของลิงนั้น เอื้อประโยชน์ต่อการอยู่รอดของมัน ในขณะที่คนอาจจะเสียความสามารถดังกล่าวไป แต่ได้ความสามารถในการเข้าใจภาษาและสัญลักษณ์ที่ซับซ้อนมาแทน
ที่มา nature
อย่างไรก็ตาม ผลการทดลองดังกล่าว ไม่ได้แปลว่า ลิงฉลาดกว่าคน แต่อาจเป็นเพราะ ความสามารถในการจำภาพของลิงนั้น เอื้อประโยชน์ต่อการอยู่รอดของมัน ในขณะที่คนอาจจะเสียความสามารถดังกล่าวไป แต่ได้ความสามารถในการเข้าใจภาษาและสัญลักษณ์ที่ซับซ้อนมาแทน
ที่มา nature
ไม่ต้องใช้ตัวอ่อนมนุษย์อีกต่อไป : Stem Cells จากผิวหนัง
อาทิตย์ที่ผ่านมีความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในวงการสเตมเซลล์หลังจากที่เงียบเหงามานาน โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น จากมหาวิทยาลัยเกียวโต ได้ใส่ยีนสี่ยีนเข้าไปในเซลล์จากผิวหนังมนุษย์ และสามารถเปลี่ยนให้มันกลับไปเป็นสเตมเซลล์ได้ สร้างความหวังให้กับการนำสเตมเซลล์มาใช้รักษาโรค โดยที่ไม่ต้องใช้ตัวอ่อนมนุษย์มาผลิตสเตมเซลล์ ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันในแง่ของจริยธรรม
สเตมเซลล์กับความหวังในการรักษาโรค
ภาพจาก http://www.republicanvoices.org/stem_cells_2.jpg
ล่าสุดนักวิจัยกลุ่มเดิมเปิดเผยความสำเร็จอีกขั้น โดยสามารถสร้างสเตมเซลล์จากเซลล์ผิวหนังโดยไม่ต้องใช้ยีน c-Myc ถึงแม้ว่าวิธีใหม่จะกินเวลามากกว่า และได้จำนวนสเตมเซลล์น้อยกว่า แต่ก็เป็นอีกขั้นความสำเร็จที่น่ายินดีอย่างยิ่ง
ที่มา scientific american
Saturday, December 1, 2007
หนูปลอดมะเร็ง
นักวิจัยจาก University of Kentucky ได้ค้นพบว่าหนูที่มีการทำงานของยีนที่ชื่อว่า “Par-4″ มากกว่าปกติจะไม่แสดงการเกิดมะเร็ง และแถมยังมีอายุยืนยาวกว่าหนูปกติอีกด้วย นักวิจัยเชื่อว่า Par-4 เป็นยีนที่มีหน้าที่สำคัญในการกำจัดเซลล์ที่ผิดปกติในร่างกาย (apoptosis) ซึ่งเป็นกระบวนสำคัญในการยับยั้งมะเร็ง ยีน Par-4 จึงกำลังเป็นที่สนใจในการรักษามะเร็งในมนุษย์
ที่มา BBC NEWS
ที่มา BBC NEWS
Subscribe to:
Posts (Atom)